soli-treatment ระบบวางท่อ

วิธีปฏิบัติงานแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้

1. ขั้นตอนฝ่ายก่อสร้าง ก่อนการใช้บริการป้องกันปลวก

1.1 บริเวณที่สร้างอาคาร หลังจากเทคานคอดินเรียบร้อยแล้ว ต้องแกะไม้แบบออกให้หมด

1.2 ยังไม่ต้องปรับพื้นดินหรือทรายหรือวางพื้นสำเร็จรูป

2. ขั้นตอนฝ่ายบริการป้องกันปลวก

2.1. เจ้าหน้าที่จะทำการเจาะรูที่ท่ออัดน้ำยา เพื่อที่จะฝังหัวฉีดที่ท่ออัดน้ำยาทุกๆ ระยะประมาณ 70 เซนติเมตร

2.2. เจ้าหน้าที่จะเริ่มงาน หลังที่ทางฝ่ายก่อสร้างได้ทำการเทคานคอดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยจะทำการติดตั้งท่ออัดน้ำยาขนานกับแนวคานด้านในรอบตัวอาคาร มีเข็มขัดรัดท่อทุกๆ ระยะประมาณ 1 เมตร และจะมีท่อซอยวางขนานคานส่วนล่าง เพื่อส่งน้ำยาไปเคลือบพื้นที่สำคัญๆ ภายใต้พื้นอาคาร ส่วนที่จะกลายมาเป็นห้องเก็บของ ห้องน้ำ หรือห้องใต้บันได ซึ่งมักพบปลวกมากที่สุด

3. ท่อวาล์ว ที่จะอัดน้ำยาเคมีเข้าท่อ จะอยู่รอบอาคารตามความเหมาะสม และความต้องการของเจ้าของอาคาร ซึ่งตามปกติจะมีหัววาล์วอัดน้ำย า 1 หัว ทุกๆ ความยาวของท่อประมาณ 15-20 เมตร

4. การอัดและพ่นน้ำยาเคมีบริเวณภายในอาคาร เจ้าหน้าที่จะใช้หัวอัดน้ำยาเคมีแบบพิเศษปักลึกลงไปในดินที่ปรับพื้นเรียบร้อยแล้วประมาณ 30 เซนติเมตร ตามแนวคานโดยรอบด้วยเครื่องอัดลมที่มีความดันสูง (SUB-SOIL HIGH PRESSURE INJECTOR) ใช้น้ำยาเคมีประมาณ 5 ลิตรต่อ 1 ตารางเมตร

5. ฉีดและพ่นเคลือบผิวดินหรือทรายภายในอาคารทุกๆ ตารางเมตรโดยรอบ เพื่อให้น้ำยาเคมีซึมลงไปประสานกับน้ำยาเคมีที่อัดเอาไว้ในชั้นดิน ตามกรรมวิธีในข้อ 4 แล้วใช้น้ำยาเคมี 2-3 ลิตรต่อ 1 ตารางเมตร

6. การอัดและพ่นน้ำยาเคมีรอบนอกตัวอาคาร หลังจากที่ได้มีการ ปรับพื้นที่ภายนอกรอบๆ ตัวอาคารแล้ว เจ้าหน้าที่จะทำการอัดน้ำยาเคมีลงดิน ตามแนวคานคอดินด้านนอกอาคารโดยห่างจากตัวอาคารประมาณ 1 เมตร ใช้หัวอัดน้ำยาเคมีแบบพิเศษปักลึกลงไปในดินหรือทรายประมาณ 30 เซนติเมตร โดยรอบคานคอดินเสร็จแล้วพ่นสารเคมีเคลือบผิวดินหรือทรายอีกครั้งหนึ่ง

1
2

 

3
4

 

5
6

 

7
8